วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยบูรพา

        
         ตรามหาวิทยาลัย ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา มีสองแบบ ไม่จำกัดสีและขนาด ลักษณะและส่วนประกอบของตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพามีสองแบบดังนี้

         แบบที่หนึ่ง เป็นวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมในมีรูปเลขไทย “๙” อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกนกเปลวเพลิงด้านบนมีรัศมีประกอบแปดแฉก ด้านล่างของเลข ๙ เป็นเส้นโค้งสามเส้น วงกลมนอกเบื้องบนมีคำว่า “สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ” เบื้องล่างมีคำว่า “มหาวิทยาลัยบูรพา”


         แบบที่สอง เป็นวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมในมีรูปเลขไทย “๙” อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกนกเปลวเพลิงด้านบนมีรัศมีประกอบแปดแฉก ด้านล่างของเลข ๙ เป็นเส้นโค้งสามเส้น วงกลมนอกเบื้องบนมีคำว่า  “มหาวิทยาลัยบูรพา” 
เบื้องล่างมีคำว่า  “BURAPHA UNIVERSITY”




 ความหมายของ ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา มีดังนี้

(๑) ตราเป็นรูปทรงกลม ล้อมรอบด้วยชื่อมหาวิทยาลัย และพุทธศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัยว่า “สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ” มีความหมายว่า ความได้ปัญญาทำให้เกิดสุข

(๒) ตรงกลางเป็นรูปเลขไทย “๙” หมายถึง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

(๓) มีกนกเปลวเพลิงล้อมรอบ หมายถึง ความรุ่งโรจน์และรุ่งเรือง

(๔) รัศมีประกอบมี ๘ แฉก หมายถึง จังหวัดในภาคตะวันออก ๘ จังหวัด และฐานเดิมทั้ง ๘ วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

(๕) ด้านล่างเป็นเส้นโค้ง หมายถึง ความเคลื่อนไหวและการพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด



ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นมะพร้าว





สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเทา - ทอง

สีเทา หมายถึง ความเจริญทางสติปัญญา

สีทอง หมายถึง คุณธรรม

สีเทา-ทอง หมายถึง บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้กอปร ด้วยสติปัญญา และมีคุณธรรม

12 Tips ฝึกนิสัยการอ่าน ง่ายนิดเดียว!



                หลายๆ คนคงประสบปัญหาว่า มีหนังสือที่ซื้อมามากมาย แต่ยังอ่านไม่หมดซักที
เพราะเวลาจะอ่านหนังสือแทบไม่มี บางคนก็ดองไว้นานจนลืมไปแล้วว่า เอ เคยซื้อเล่มนี้มาด้วยเหรอ???  พอยังอ่านเล่มที่มีไม่หมด หนังสือเล่มใหม่ที่น่าสนใจก็ออกมาอีกแล้ว
จะทำยังไงดีนะ ?

1.วางแผนเรื่องเวลา
    
               วางแผนไว้เลยว่าเราจะอ่านหนังสืออย่างน้อยครั้งละ 5-10 นาที ทำให้เป็นนิสัยที่จะอ่านหนังสือระหว่างทานอาหาร ไม่ว่าจะเช้า กลางวัน หรือเย็น (โดยเฉพาะเวลาที่ทานอาหารคนเดียว) รวมทั้งเวลานอน นั่นเท่ากับคุณมีเวลาถึง 4 ครั้งต่อวัน หรือเท่ากับ 40 นาทีต่อวันเลยทีเดียว

2.มีหนังสือไว้กับตัวตลอดเวลา
    
               ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน ก่อนออกจากบ้าน ติดเอาหนังสือไปกับคุณด้วยสิ ไม่ว่าจะไปออฟฟิศ ไปเรียน นัดเจอเพื่อนซี้ ทำธุระที่ธนาคาร ไปหาหมอฟัน ฯลฯ เวลานั่งรอ ก็หยิบหนังสือออกมาอ่านได้เสมอ แถมทำให้ไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

3.จัดทำลิสต์รายการหนังสือ

               เก็บลิสต์รายการหนังสือดีๆ ทั้งหมดที่ต้องการจะอ่านเอาไว้ แล้วบันทึกลงในสมุดบันทึกประจำวันของเรา, ในสมุดโน้ต หรือในโฮมเพจส่วนตัวก็ได้ พออ่านเสร็จ ก็แค่ขีดฆ่าเล่มที่เราอ่านแล้ว เท่านี้ก็สามารถจัดการลำดับในการอ่านหนังสือได้อย่างง่ายดาย

4. เก็บบันทึกเหตุการณ์
    
               เหมือนกับลิสต์รายการอ่านหนังสือ แต่ไม่ใช่การบันทึกแค่ชื่อหนังสือ และผู้แต่งหนังสือที่เราอ่านเท่านั้นนะ แต่รวมถึงวันที่เริ่มอ่าน และวันที่อ่านจบ และถ้าจะให้ดี บันทึกสิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ ไว้ด้วย เวลาย้อนกลับมาอ่านจะได้จำได้ไงล่ะ

5.ค้นหาสถานที่เงียบๆ
    
               ค้นหาสถานที่ในบ้าน ที่เราจะสามารถนั่งเก้าอี้ที่แสนสบาย (ไม่ใช่การนอนลงนะ เว้นว่าเราอยากจะนอนหลับ!!) และเอนตัวลงกับหนังสือดีๆ ได้ โดยปราศจากการรบกวนหรือขัดจังหวะ ซึ่งนั่นควรจะไม่มีโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ใกล้ๆ ที่จะทำให้ไขว้เขวไปได้ และต้องไม่มีเพลง หรือสมาชิกในครอบครัว, เพื่อนร่วมห้องที่ส่งเสียงดัง แต่ถ้าไม่มีสถานที่แบบนี้ ลองค้นหาให้เจอสิ อย่างเช่น ร้านกาแฟเล็กๆ ห้องสมุด หรือสวนสาธารณะที่เงียบๆ ลมเย็นๆ
ก็ได้ …แค่นี้ก็ได้อ่านหนังสืออย่างมีความสุขแล้ว

6.ลดการดูทีวี หรือเล่นอินเตอร์เน็ต
    
               ถ้าคุณต้องการอ่านหนังสือให้มากกว่านี้จริงๆ ลองตัดการบริโภคทีวีหรืออินเตอร์เน็ตลง มันอาจจะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับหลายๆ คน แม้ในตอนนี้ คุณก็สามารถอ่านหนังสือแทนการเล่นอินเตอร์เน็ตนะ! แค่นี้ก็สามารถสรรสร้างช่วงเวลาแห่งการอ่านหนังสือได้แล้ว

7.มีวันแห่งห้องสมุด
    
               ทำให้เป็นนิสัยในการเดินทางสำหรับทุกอาทิตย์ ด้วยการไปห้องสมุด นอกจากจะสามารถหยิบหนังสือของเราติดมือไปอ่านได้แบบเงียบๆ สบายๆ แล้ว ในนั้นยังมีหนังสือน่าอ่านตั้งมากมายรอให้เราไปค้นหา แทนที่จะไปเดินช้อปปิ้ง หรือนอนพักผ่อนเฉยๆ อยู่บ้าน
ก็ไปห้องสมุด แล้วหาหนังสือถูกใจอ่านกันเถอะ เพราะนอกจากได้อ่านหนังสือในบรรยากาศเงียบๆ สมใจแล้ว ยังได้อ่านฟรีอีกต่างหาก…คุ้มแสนคุ้ม!

8.อ่านหนังสือที่สนุกๆ และกระตุ้นความสนใจได้
    
               ค้นหาหนังสือที่น่าสนใจจริงๆ สำหรับคุณ แม้ว่าหนังสือพวกนั้นจะไม่ใช่วรรณกรรมระดับมาสเตอร์พีซ แต่ทำให้เราอยากอ่านมันได้ แค่นั้นก็พอแล้วล่ะ หลังจากนั้น เราก็สามารถเปลี่ยนไปอ่านอะไรที่มันยากขึ้นได้ แต่สำหรับตอนนี้ มุ่งไปสู่สิ่งที่ทำให้สนุก และสิ่งที่น่าสนใจดีกว่านะ อย่างนิยายโรแมนติกคอเมดี หรือ ซีรีส์สืบสวนหรรษา ที่เรียกเสียงฮาได้ตั้งแต่ต้นจนจบนั่นไง

9.ทำให้การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลิน
    
               ทำให้การอ่านหนังสือของเราเป็น ช่วงเวลาที่น่าโปรดปราน อย่างการจิบชาดีๆ หรือจิบกาแฟในช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ มีเก้าอี้ที่แสนสบาย หรือจะเลือกช่วงเวลาในการอ่านหนังสือระหว่างช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้น หรือพระอาทิตย์ตก หรือไปนอนเอกเขนกที่ชายหาด
ก็ย่อมจะช่วยสร้างบรรยากาศให้เราเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดีเชียวล่ะ

10.บันทึกเรื่องราวการอ่านหนังสือลงไปใน Blog
    
               เป็นอีกหนึ่งในเคล็ดลับที่ดีที่สุดที่จะ สร้างนิสัยในการอ่าน คือการบันทึกเรื่องราวลงใน Blog ของเรา จะเป็น Hi5, Facebook, Multiply หรืออะไรก็แล้วแต่ นอกจากจะสามารถอธิบายความคิดของเราเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ ได้แล้ว คนอื่นๆ ยังสามารถให้คำแนะนำเราเกี่ยวกับหนังสือ และแสดงความคิดเห็นในหนังสือบางเล่มที่เรากำลังอ่านได้อีกด้วย

11.วางแผนเป้าหมายสูงสุด
    
               บอกตัวเองว่า เราต้องการอ่านหนังสือจำนวน 50 เล่มในปีนี้!! (หรือตัวเลขอื่นๆ ประมาณนั้น) หลังจากนั้น วางแผนที่จะทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ แต่ต้องแน่ใจว่าเราจะยังคงสนุกกับการอ่านอยู่ ไม่ต้องรีบเร่ง เพราะเป้าหมายจริงๆ ของเราก็คือ การอ่านหนังสือที่เคยซื้อเอาไว้ให้หมดนี่นา…

12.มีชั่วโมงการอ่าน หรือวันแห่งการอ่าน
    
               ถ้าปิดทีวี หรืออินเตอร์เน็ตตอนเย็นๆ เราก็สามารถวางแผนเวลา (บางทีแค่หลังทานข้าวเย็น) เมื่อเราและสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดอยู่ด้วยกัน ถ้าทำให้พวกเขาเหล่านั้นร่วมกับเราได้ในการอ่านหนังสือได้ ก็จะสนุกสุดๆ ไปเลย!!!

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เคล็ดลับบำรุงสมอง


1. จิบน้ำบ่อย ๆ
     สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออกแต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ

2. กินไขมันดี
     คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมันซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวมน้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
     หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน

4. ใส่ความตั้งใจ
     การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน

5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ
     ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ

6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
     สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นกินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
     ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง

8. เขียนบันทึก
     ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดีๆทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดีตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์

9. ฝึกหายใจลึก ๆ
     สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยาย

      อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนตามเทคนิคง่ายๆทั้ง 9 ข้อนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดอัจฉริยะข้ามคืนได้เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้ แต่สิ่งที่ได้ในเบื้องต้นคือการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจแบบชนิดที่เรียกว่า "สวยทั้งภายในและภายนอก" อย่างแน่นอน